การค้าในรูปแบบไม่ถือหุ้นโดยตรงระหว่างอินโดนีเซียและญี่ปุ่นที่มองว่าจะเปิดโอกาสให้ได้เข้าร่วมเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศตามการศึกษาโดยศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–1 มิถุนายน 2564

ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJC) ออกบทความฉบับที่ 7 ในหัวข้อ “การค้าในรูปแบบไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: การส่งเสริมการค้าในรูปแบบใหม่ระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน”  โดยมุ่งเน้นที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนมีนาคม 2564 ผลจากการค้นพบของบทความนี้ได้ถูกนำเสนอในหัวข้อ “การสัมมนาออน์ไลน์เกี่ยวกับการไม่ถือหุ้นโดยตรงของอินโดนีเซีย” โดย AJC ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ตามบทความดังกล่าว การค้าในรูปแบบไม่ถือหุ้นโดยตรง (NEMs) ในอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีบทบาทในการขยายโอกาสในการมีส่วนร่วมในมูลค่าโลก และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีมัลติมีเดีย รับชมฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20210601005358/en/

“Non-Equity Modes of Trade in ASEAN” on Indonesia is available for download on AJC website (Graphic: Business Wire)

“การค้าในรูปแบบไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน” ในอินโดนีเซียพร้อมให้ดาวน์โหลดบนเว็บไซต์ AJC (กราฟิก: Business Wire)

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก และหนึ่งในสามของเศรษฐกิจนั้นมาจากการลงทุน NEMs ในอินโดนีเซียมีอยู่ในอุตสาหกรรมยางธรรมชาติในรูปแบบของการประกอบธุรกิจฟาร์มแบบสัญญาจ้าง ในอุตสาหกรรมรองเท้าผ่านการรับจ้างช่วงและการรับเหมาช่วง ในร้านค้าฟาสต์ฟู้ดและร้านสะดวกซื้อผ่านแฟรนไชส์ ​​และในเครือข่ายโรงแรมระหว่างประเทศผ่านการบริหารตามสัญญาหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ บทความล่าสุดของกฎหมายฉบับที่ 11 ของปี2563 ว่าด้วยการสร้างงานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุปสรรคสำคัญในการลงทุนในอินโดนีเซีย และให้ประโยชน์กับ NEMs ด้วยเช่นกัน โดยการดึงดูดนักลงทุนมายังอินโดนีเซียด้วยคาดว่าจะสะดวกในการประกอบธุรกิจในประเทศ

NEMs นำเสนอโอกาสที่ไม่สามารถพบในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ตัวอย่างเช่น เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของแบรนด์ต่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ (TNCs) โดยพิจารณาจากความยืดหยุ่นในการเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียนผ่านพันธมิตรแบบเซ็นสัญญากับบริษัทในท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ TNCs คาดว่าบริษัทในท้องถิ่นจะต้องมีทักษะและความสามารถด้านการจัดการและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามเนื่องจากบรรษัทข้ามชาติสามารถบอกเลิกสัญญาได้อย่างง่ายดาย ความสัมพันธ์ระยะยาวจึงไม่รับประกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณภาพของสินค้าและบริการไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ TNCs แม้ว่า FDI อาจมีข้อได้เปรียบที่ดีกว่า NEM ในแง่ของการนำเงินทุนเข้ามา แต่ NEM ได้ขยายวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บริษัทอินเดียโนเซียนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ

การมีอยู่ของ NEM นั้นสร้างแรงจูงใจให้บริษัทในท้องถิ่นได้เติบโตธุรกิจของตนเอง หากบริษัทในท้องถิ่นสามารถเพิ่มความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีด้วยการเชื่อมโยงกับ TNCs พวกเขาสามารถสร้างความสามารถของตนเองตามแรงจูงใจเหล่านี้ และขยายธุรกิจโดยใช้เครือข่ายของ TNC เพื่อเพิ่มศักยภาพสูงสุดของ NEMs อย่างเต็มที่ บทความนี้แนะนำให้รัฐบาลอินโดนีเซียนพิจารณาดังนี้: (1) การเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการและโครงการบ่มเพาะและโครงการการให้บริการทางการเงินรายย่อย (2) ดำเนินการและเสริมสร้างด้านกฎระเบียบสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อขยายการจ้างงาน ยกระดับทางเทคโนโลยีและมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก (3) สนับสนุนการส่งเสริมและยกระดับทักษะและความเชี่ยวชาญของแรงงานในท้องถิ่นผ่านโครงการการศึกษาใหม่ๆ เช่น Kampus Merdeka และผ่านบัตรก่อนการจ้างงาน และ (4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้บริษัทต่างๆ สามารถสร้างการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ได้สรุปไว้เมื่อปลายปี 2563 ได้ขยายตลาดไปยังเอเชียตะวันออกให้กว้างขึ้น ความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียนในการเพิ่มโอกาสดังกล่าวจะช่วยให้ NEMs สามารถบูรณาการเศรษฐกิจอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น การลดระบบราชการและการลดระเบียบกฎหมายจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทอินโดนีเซียนและช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดทั่วโลก นอกจากนี้นโยบายการลงทุนที่อำนวยความสะดวกและตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเป็นกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้ในการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของชาวอินโดนีเซียในอนาคต

ผลจากการค้นพบของบทความนี้ได้ถูกนำเสนอในการสัมมนาออน์ไลน์เกี่ยวกับการไม่ถือหุ้นโดยตรงของอินโดนีเซียที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 AJC ได้เชิญนักอภิปรายจากภาครัฐและสถาบันการศึกษา รวมทั้ง Dr. Kasan Muhri หัวหน้าสำนักงานวิเคราะห์การค้าและการพัฒนา ผู้อำนวยการทั่วไปของการวิเคราะห์และพัฒนานโยบายการค้า กระทรวงการค้า สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ศาสตราจารย์ Chie Iguchi จากมหาวิทยาลัย Keio และเลขาธิการ AJC Masataka Fujita สำหรับรายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับการสัมมนาออนไลน์ โปรดรับชมได้ที่ https://www.asean.or.jp/en/trade-info/20210601/

 “การค้าในรูปแบบไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: การส่งเสริมรูปแบบการค้าใหม่ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียน: บทความที่ 3 อินโดนีเซีย” สามารถดาวน์โหลดได้บนเว็บไซต์ของ AJC ดังต่อไปนี้ https://www.asean.or.jp/ja/wp-content/uploads/sites/2/NEM-Indonesia-Paper-3-full-web.pdf

รับชมเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20210601005358/en/

ติดต่อ:

ASEAN-Japan Centre (AJC) PR Unit
Tomoko Miyauchi (MS)
URL: https://www.asean.or.jp/en/
E-mail: toiawase_ga@asean.or.jp

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย