ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับช่องว่างที่สำคัญระหว่างคณะกรรมการของบริษัทต่างๆในประเทศไทยในเรื่องของการกำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง

Logo

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme ร่วมกันเผยแพร่รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ซึ่งระบุถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกโดยมุ่งเน้นไปที่ประเทศไทยและตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 พบว่า

  • คณะกรรมการบริษัทต่างก็พยายามที่จะผลักดันนำระบบดิจิทัล มาเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน เพื่อก้าวผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด 19 ไปให้ได้
  • การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ตลอดจนธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่คณะกรรมการองค์กรให้ความสำคัญ
  • คณะกรรมการองค์กรณ์ ยังไม่มีความพร้อมในด้านครื่องมือที่รองรับรูปแบบการประชุมแบบผสมผสานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นรูปแบบการประชุมที่จะเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงหลังจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด
  • ความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลในแต่ละองค์กรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคณะกรรมการองค์กรยังคงตามไม่ทันต่อวิวัฒนาการ ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยของระบบไซเบอร์ รวมถึงความด้อยประสิทธิ์ภาพในการทำงาน
  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีในองค์กร ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินการของคณะกรรมการ และ ช่องโหว่นี้ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อกระบวนการปฏิบัติงานและความซื่อสัตย์ของคนในองค์กร

รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ได้ระบุให้เห็นถึงความคิดเห็นและการแนวทางปฎิบัติของกรรมการขององค์กรทั่วโลก ในด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงทางไซเบอร์ การดำเนินงานของคณะกรรมการ ธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) รวมถึงการวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (BCP) ทั้งนี้ ได้มีการสำรวจในเชิงลึกกับคณะกรรมการบริษัท 771 คนซึ่งเป็นตัวแทนของธุรกิจเกิดใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัทข้ามชาติ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วทั้งอุตสาหกรรมหลัก 12 ประเภท การสุ่มตัวอย่างมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย) รวมทั้งตัวอย่างเปรียบเทียบจากทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน ดังนี้ :

  • BCP และ GRC ต่างสร้างแรงกดดันต่อคณะกรรมการองค์กร โดยร้อยละ 83 ของคณะกรรมการองค์กรทั่วโลกและร้อยละ 84 ของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเล็งเห็นว่าประเด็นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์กร กล่าวโดยสรุปแล้ว คณะกรรมการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมั่นใจว่าจะสามารถจัดการวิกฤตต่างๆได้ อีกทั้งยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนาตลาดบางแห่ง ร้อยละ 52 ของคณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยกล่าวว่าตนเองรู้สึกพอใจในวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ คณะกรรมการในประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 42) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 45) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 50) ฮ่องกง (ร้อยละ 51) มาเลเซีย (ร้อยละ 56) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 71) ต่างก็มีความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • นับตั้งแต่ที่มีการสร้างแบบจำลองการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลกลายเป็นประเด็นที่กรรมการองค์กร กว่าร้อยละ 83% เป็นกังวล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่ากรรมการบริษัทร้อยละ 91 ในประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวว่าความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเคยเป็นเรื่องที่เป็นกังวล แต่มีเพียงร้อยละ 79% ของคณะกรรมการที่ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของข้อมูล และได้แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ ยังมีวิธีจัดการที่ไม่เหมาะสม และมีกรอบการดำเนินงานในเรื่องของความปลอดภัยของไซเบอร์ที่ล้าหลัง
  • คณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่างไม่เห็นด้วยกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอก เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่กรรมการกว่าร้อยละ 60 ในทวีปอเมริกากล่าวว่าจะพิจารณาเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยเหลือในการประเมินกรอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ ความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมทั้งการวางแผนเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เห็นได้ชัดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ไม่ค่อยให้การยอมรับเนื่องจากกรรมการน้อยกว่าครึ่ง (เพียงร้อยละ 48) กล่าวว่าจะพิจารณาใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก รวมถึงประเทสไทย (ร้อยละ 49%)
  • คณะกรรมการองค์กรยังไม่มีการเตรียมตัวที่จะรับมือกับข้อกำหนดด้านของความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการประชุมเสมือนจริง (Virtual meeting)ทั้งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายและภายหลังการแพร่ระบาดของโรคร้าย : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในผลสำรวจอย่างชัดเจน กล่าวคือ คณะกรรมการทั่วโลกรายงานว่า มีการประชุมเสมือนจริงเพียง 5% จากการประชุมทั้งหมด มาเป็นการประชุมแบบเข้าประชุมด้วยตัวเอง เพียง 5% แทน อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของข้อมูล คณะกรรมการหลายคนไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการแบบผสมผสานดังกล่าว ซึ่งจะเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากหลังการแพร่ระบาด โดยร้อยละ 9 ของคณะกรรมในประเทศไทย (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกจำนวน 5%) ที่ยังคงเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และร้อยละ 9 (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกที่ 12%) ที่คิดว่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองหลังการแพร่ระบาดของโรค
  • ดังนั้น 1 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัทก็มิได้ดำเนินการเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองเพื่อที่จะลดช่องว่างในการนำเอาระบบดิจิทัลที่แพร่หลายมาใช้ ทั้งนี้ ในการเตรียมตัวหลังจากการที่แพร่ระบาดของโรคร้ายผ่านพ้นไปในอนาคต ร้อยละ 73 ของกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองจะหาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ มาใช้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นคณะกรรมการในประเทศไทย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ 79 78 และ 76 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเทศที่ความต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆมาใช้ ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อยอยู่ เช่น ฮ่องกง (ร้อยละ 70) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ 67) โดยระบุว่าคณะกรรมการองค์กรจำนวนมาก ยังไม่มีการใช้ดิจิทัลในการดำเนินงานของคณะกรรมการ หรือ การแก้ปัญหาอื่นๆที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้
  • คณะกรรมการบริษัทกำลังมองหาที่จะเข้ารับการฝึกอบรมด้านการกำกับดูแลกิจการให้มากขึ้นเพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง – ร้อยละ 94 ของคณะกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองต้องการฝึกอบรมเพิ่มเติม ในขณะที่กรรมการแค่เพียงร้อยละ 58 กำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว ตัวเลขทางสถิติเหล่านี้จะสอดคล้องกับตัวอย่างของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่ปรากฏอยู่ในแบบสำรวจ สำหรับประเทศไทยแล้ว กรรมการร้อยละ 91 กล่าวว่าตนเองต้องการรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม และมีแค่เพียงร้อยละ 55 ที่ปัจจุบันกำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว

คุณเลนนาร์ด ย้ง (Mr. Lennard Yong) ประธานกรรมการบริหารของไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า“การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ของสัดส่วนที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคณะกรรมการบริษัทเกือบทุกองค์กรทั่วทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม” นับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น ไตรคอร์ก็ได้รับการสอบถามจากองค์กรต่าง ที่กำลังมองหาวิธีการในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของคณะกรรมการ โดยรวมรวมถึงการเอาวิธีการกำกับดูแลคณะกรรมการบริษัทแบบดิจิทัลมาใช้ ในขณะที่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความปั่นป่วนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยการให้บริการในรูปแบบบูรณาการและส่งเสริมความเป็นดิจิทัลรวมทั้งโซลูชั่นในการกำกับดูแลกิจการที่มีความหลากหลาย พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการในการสร้างความคุ้นเคยกับสภาวะทางธุรกิจที่กำลังวิวัฒนาการและพยายามรับมือกับความไม่แน่นอน”

คุณซันไชน์ ฟาซาน (Ms. Sunshine Farzan) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “คณะกรรมการบริษัทต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการลดความเสี่ยง และนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นหายนะและเหตุการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับองค์กรและยังส่งผลต่อการลงทุนของผู้ถือหุ้น หากมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ได้ยืนยันแล้วว่า คณะกรรมการต่างก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับ วิกฤติของความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ GRC และ BCP และรายงานฉบับนี้จะสามารถช่วยให้คณะกรรมการมองเห็นถึงความท้าทาย ปัญหา รวมถึงด้านสำคัญที่ต้องการการแก้ไขพัฒนา เพื่อนำไปสู่ขั้นต่อไปในการดำเนินธุรกิจอย่างและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง

คุณดีแลนด์ หม่า (Mr. Dyland Mah) กรรมการผู้จัดการ บริษัทไตรคอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ธนาคารโลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในเอเชียในด้านของการกำกับดูแลกิจการซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิรูปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของมาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนดในระดับสูงในด้านที่สำคัญ อาทิเช่น การเปิดเผย ความโปร่งใส และการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หากแต่ในส่วนของการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสภาวการณ์ของตลาดที่เปี่ยมไปด้วยความท้าทายแล้ว ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยก็กำลังรับมือกับสภาวะของความไม่แน่นอนที่แพร่กระจายไปทั่ว รวมทั้งความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ตลอดจนข้อบังคับ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับไตรคอร์

ประเทศไทยแล้ว เราต่างก็ให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อที่จะสนับสนุนกรอบการทำงานในเรื่องของการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถที่จะส่งเสริมพนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้มีอำนาจในการควบคุม และชุมชนได้ดีขึ้น”

นอกเหนือจากประเด็นหลักที่กล่าวมาข้างต้น รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ยังมีรายละเอียดสำหรับประเด็นรอง บทสรุปสำคัญ บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม ประเด็นที่ควรพิจารณา และ วิธีการปฏิบัติด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คณะกรรมการ เข้าใจและชี้ทางเพื่อให้พัฒนาธุรกิจต่อไปท่ามกลางวิกฤติ

หากสนใจรับชมรายงานฉบับเต็ม สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.tricorglobal.com/2021-asia-pacific-board-director-barometer-report

ขอบคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

HONG KONG SAR (GROUP OFFICE)

Sunshine Farzan

Tricor Services Limited

Group Head of Marketing & Communications

Tel: +852 2980 1261

Email: Sunshine.Farzan@hk.tricorglobal.com

เกี่ยวกับ บริษัท ไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2005 และมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งบริการของเราครอบคลุมทั้งบริการจัดทำบัญชีและภาษีอากรให้กับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, บริการด้านเลขานุการและการจัดการทั่วไปสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริการด้านการจัดทำเงินเดือน  หากท่านต้องการที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พนักงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างพื้นฐานชั้นแนวหน้า ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ

ไตรคอร์กรุ๊ป (“ไตรคอร์”) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขยายธุรกิจระดับชั้นนำของเอเชีย ซึ่งมีองค์ความรู้ระดับโลก และมีสำนักงานซึ่งให้บริการทางธุรกิจ บริการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริการให้คำแนะนำแก่นักลงทุน บริการทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน บริการทรัสต์สำหรับองค์กร (Corporate trust & debt services) การจัดการด้านธุรการกองทุน และบริการให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ   ไตรคอร์มีสำนักงานใหญ่ประจำที่ฮ่องกง เราให้บริการมากกว่า 21 ประเทศ/เขตการปกครอง มีเครือข่ายสำนักงานใน 47 เมือง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในความดูแลมากกว่า 50,000 รายทั่วโลก  โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าว กว่า 2,000 บริษัทเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย และมากกว่า 40 % เป็นบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทชั้นนำ 500 แห่งทั่วโลกจากการรวบรวมและจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune  นอกจากนี้ไตรคอร์มีพนักงานกว่า 2,800 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีใบรับรองทางวิชาชีพถึง 630 คน โดยเราพร้อมให้บริการที่สำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการเติบโตทั้งในระดับเอเชียและระดับต่อไป

จุดแข็งของไตรคอร์ประกอบขึ้นจากประสบการณ์เชิงลึกในทุกๆ อุตสาหกรรม พนักงานที่มุ่งมั่น การดำเนินการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปฏิบัติการตามมาตรฐาน การให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบ และการติดต่อสื่อสารกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ไตรคอร์มีความสามารถเฉพาะเพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจของท่าน และช่วยให้ท่านก้าวไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายในปัจจุบัน

 โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา: www.tricorglobal.com/locations/thailand