Tag Archives: group

SoftBank Group แต่งตั้ง Mark Kornblau ให้ดำรงตำแหน่ง Global Head of Communications

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–07 กรกฎาคม 2564

วันนี้ SoftBank Group Corp. (“SBG”) ได้ประกาศว่า Mark Kornblau จะเข้าร่วม SBG ในตำแหน่ง Global Head of Communications ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม เป็นต้นไป โดยก่อนที่จะย้ายมาร่วมงานกับ SBG ปัจจุบันนี้ Mark ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายสื่อสารอยู่ที่ NBCUniversal News Group

Mark จะประจำอยู่ที่สำนักงานของ SoftBank ในนิวยอร์ก และรายงานตรงต่อ Masayoshi Son กรรมการบริหาร เจ้าหน้าที่บริหาร ประธานและซีอีโอของ SBG รวมถึง Marcelo Claure เจ้าหน้าที่บริหาร รองประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการของ SBG และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SoftBank Group International ในบทบาทใหม่นี้ Mark จะรับผิดชอบงานด้านกลยุทธ์ของฝ่ายสื่อสารองค์กรของ SBG โดยจะเป็นผู้อำนวยการการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรในระดับนานาชาติ นอกจากนี้จะทำงานร่วมกับบริษัทในเครือของ SBG อีกเกือบ 300 แห่ง เพื่อสร้างความสอดคล้องและค่านิยมเดียวกันทั่วทั้งระบบนิเวศของ SoftBank Group

Marcelo กล่าวว่า “Mark เป็นผู้นำด้านการสื่อสารที่มีความสามารถและเป็นที่นับถืออย่างมาก และยังเป็นที่ปรึกษาที่เหล่าซีอีโอ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีหลาย ๆ ท่าน รวมถึงบรรดาผู้นำของรัฐบาลและนักหนังสือพิมพ์ให้ความไว้วางใจมากว่าสองทศวรรษ เขาจะเป็นพันธมิตรที่มีค่าสำหรับทีมบริหารของเรารวมถึงธุรกิจและบริษัทต่าง ๆ ที่เราเข้าไปลงทุน”

ขณะที่ Mark กล่าวว่า “SoftBank คือศูนย์กลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยการชี้ให้เห็นว่าอะไรคือเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริงและช่วยเร่งการเติบโตของบริษัทต่าง ๆ ที่พลิกโฉมวิถีชีวิตและการทำงานของพวกเราอย่างสิ้นเชิง และแน่นอนว่าในทางที่ดีขึ้น ผมตั้งตารออย่างมากที่จะได้สนับสนุนภารกิจนี้”

ที่ NBCUniversal News Group, Mark เป็นผู้นำทีมสื่อสารให้กับแบรนด์ด้านโทรทัศน์และข่าวดิจิทัลเจ้าของรางวัล และเป็นผู้วางตำแหน่งธุรกิจให้อยู่บนเส้นทางความสำเร็จในวงการสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับในบทบาทใหม่ Mark จะร่วมงานกับผู้บริหารด้านธุรกิจและบรรณาธิการของแบรนด์ต่าง ๆ อย่าง NBC News, MSNBC, TODAY, Nightly News, Meet the Press และเครือข่ายบริการสตรีมมิ่งรวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลของแบรนด์เหล่านั้น โดยเขายังเป็นผู้นำการเจรจาเพื่อคว้าสิทธิ์ถ่ายทอดการอภิปรายระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2563 ในรอบแรก ซึ่งมียอดชมสูงสุดเป็นสถิติให้กับเครือข่ายอีกด้วย

ก่อนจะเข้าร่วมงานกับ NBCUniversal News Group, Mark เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรให้กับ JPMorgan Chase ซึ่งที่นั่นเขาได้ร่วมงานกับทีมผู้บริหารด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์และการสื่อสารในภาวะวิกฤต รวมถึงดูแลงานด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนงานด้านรัฐสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

ก่อนหน้านี้ Mark ยังเคยทำงานภายใต้ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโอบามาในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและโฆษกของผู้แทนถาวรของสหรัฐประจำสหประชาชาติ เอกอักคราชทูต Susan Rice โดยเขาอยู่ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการสื่อสารในการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สองแคมเปญ ได้แก่ครั้งที่แคปิตอลฮิลล์และสภาผู้แทนและวุฒิสภาสหรัฐฯ

ปัจจุบัน Mark ยังดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการโครงการ Careers in Culinary Arts Program ซึ่งเป็นโครงการด้านการพัฒนาแรงงานที่ไม่แสวงหากำไร และเขายังได้รับปริญญาด้านศิลปศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันด้วย

เกี่ยวกับ SoftBank Group

SoftBank Group ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนทั่วโลก SoftBank Group ประกอบด้วย SoftBank Group Corp. (TOKYO: 9984) บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนที่มีหุ้นในบริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม บริการอินเทอร์เน็ต ปัญญาประดิษฐ์ หุนยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยี IoT และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด, SoftBank Vision Funds ซึ่งลงทุนไปกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ และกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังมีกองทุนมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ฯ อย่าง SoftBank Latin America Fund ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และ SB Opportunity Fund กองทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ เพื่อการลงทุนในธุรกิจที่ก่อตั้งโดยผู้ประกอบการผิวสีในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ โปรเยี่ยมชมที่ https://global.softbank เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20210707005434/en/

ติดต่อ:

ญี่ปุ่น:
sbpr@softbank.co.jp
+81 3 6889 2300

สหรัฐอเมริกา:
Sard Verbinnen & Co
Benjamin Spicehandler / Hannah Dunning
SoftBank-SVC@sardverb.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับช่องว่างที่สำคัญระหว่างคณะกรรมการของบริษัทต่างๆในประเทศไทยในเรื่องของการกำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง

Logo

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme ร่วมกันเผยแพร่รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ซึ่งระบุถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกโดยมุ่งเน้นไปที่ประเทศไทยและตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 พบว่า

  • คณะกรรมการบริษัทต่างก็พยายามที่จะผลักดันนำระบบดิจิทัล มาเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน เพื่อก้าวผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด 19 ไปให้ได้
  • การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ตลอดจนธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่คณะกรรมการองค์กรให้ความสำคัญ
  • คณะกรรมการองค์กรณ์ ยังไม่มีความพร้อมในด้านครื่องมือที่รองรับรูปแบบการประชุมแบบผสมผสานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นรูปแบบการประชุมที่จะเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงหลังจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด
  • ความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลในแต่ละองค์กรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคณะกรรมการองค์กรยังคงตามไม่ทันต่อวิวัฒนาการ ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยของระบบไซเบอร์ รวมถึงความด้อยประสิทธิ์ภาพในการทำงาน
  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีในองค์กร ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินการของคณะกรรมการ และ ช่องโหว่นี้ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อกระบวนการปฏิบัติงานและความซื่อสัตย์ของคนในองค์กร

รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ได้ระบุให้เห็นถึงความคิดเห็นและการแนวทางปฎิบัติของกรรมการขององค์กรทั่วโลก ในด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงทางไซเบอร์ การดำเนินงานของคณะกรรมการ ธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) รวมถึงการวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (BCP) ทั้งนี้ ได้มีการสำรวจในเชิงลึกกับคณะกรรมการบริษัท 771 คนซึ่งเป็นตัวแทนของธุรกิจเกิดใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัทข้ามชาติ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วทั้งอุตสาหกรรมหลัก 12 ประเภท การสุ่มตัวอย่างมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย) รวมทั้งตัวอย่างเปรียบเทียบจากทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน ดังนี้ :

  • BCP และ GRC ต่างสร้างแรงกดดันต่อคณะกรรมการองค์กร โดยร้อยละ 83 ของคณะกรรมการองค์กรทั่วโลกและร้อยละ 84 ของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเล็งเห็นว่าประเด็นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์กร กล่าวโดยสรุปแล้ว คณะกรรมการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมั่นใจว่าจะสามารถจัดการวิกฤตต่างๆได้ อีกทั้งยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนาตลาดบางแห่ง ร้อยละ 52 ของคณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยกล่าวว่าตนเองรู้สึกพอใจในวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ คณะกรรมการในประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 42) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 45) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 50) ฮ่องกง (ร้อยละ 51) มาเลเซีย (ร้อยละ 56) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 71) ต่างก็มีความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • นับตั้งแต่ที่มีการสร้างแบบจำลองการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลกลายเป็นประเด็นที่กรรมการองค์กร กว่าร้อยละ 83% เป็นกังวล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่ากรรมการบริษัทร้อยละ 91 ในประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวว่าความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเคยเป็นเรื่องที่เป็นกังวล แต่มีเพียงร้อยละ 79% ของคณะกรรมการที่ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของข้อมูล และได้แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ ยังมีวิธีจัดการที่ไม่เหมาะสม และมีกรอบการดำเนินงานในเรื่องของความปลอดภัยของไซเบอร์ที่ล้าหลัง
  • คณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่างไม่เห็นด้วยกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอก เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่กรรมการกว่าร้อยละ 60 ในทวีปอเมริกากล่าวว่าจะพิจารณาเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยเหลือในการประเมินกรอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ ความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมทั้งการวางแผนเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เห็นได้ชัดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ไม่ค่อยให้การยอมรับเนื่องจากกรรมการน้อยกว่าครึ่ง (เพียงร้อยละ 48) กล่าวว่าจะพิจารณาใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก รวมถึงประเทสไทย (ร้อยละ 49%)
  • คณะกรรมการองค์กรยังไม่มีการเตรียมตัวที่จะรับมือกับข้อกำหนดด้านของความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการประชุมเสมือนจริง (Virtual meeting)ทั้งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายและภายหลังการแพร่ระบาดของโรคร้าย : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในผลสำรวจอย่างชัดเจน กล่าวคือ คณะกรรมการทั่วโลกรายงานว่า มีการประชุมเสมือนจริงเพียง 5% จากการประชุมทั้งหมด มาเป็นการประชุมแบบเข้าประชุมด้วยตัวเอง เพียง 5% แทน อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของข้อมูล คณะกรรมการหลายคนไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการแบบผสมผสานดังกล่าว ซึ่งจะเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากหลังการแพร่ระบาด โดยร้อยละ 9 ของคณะกรรมในประเทศไทย (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกจำนวน 5%) ที่ยังคงเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และร้อยละ 9 (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกที่ 12%) ที่คิดว่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองหลังการแพร่ระบาดของโรค
  • ดังนั้น 1 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัทก็มิได้ดำเนินการเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองเพื่อที่จะลดช่องว่างในการนำเอาระบบดิจิทัลที่แพร่หลายมาใช้ ทั้งนี้ ในการเตรียมตัวหลังจากการที่แพร่ระบาดของโรคร้ายผ่านพ้นไปในอนาคต ร้อยละ 73 ของกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองจะหาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ มาใช้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นคณะกรรมการในประเทศไทย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ 79 78 และ 76 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเทศที่ความต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆมาใช้ ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อยอยู่ เช่น ฮ่องกง (ร้อยละ 70) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ 67) โดยระบุว่าคณะกรรมการองค์กรจำนวนมาก ยังไม่มีการใช้ดิจิทัลในการดำเนินงานของคณะกรรมการ หรือ การแก้ปัญหาอื่นๆที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้
  • คณะกรรมการบริษัทกำลังมองหาที่จะเข้ารับการฝึกอบรมด้านการกำกับดูแลกิจการให้มากขึ้นเพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง – ร้อยละ 94 ของคณะกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองต้องการฝึกอบรมเพิ่มเติม ในขณะที่กรรมการแค่เพียงร้อยละ 58 กำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว ตัวเลขทางสถิติเหล่านี้จะสอดคล้องกับตัวอย่างของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่ปรากฏอยู่ในแบบสำรวจ สำหรับประเทศไทยแล้ว กรรมการร้อยละ 91 กล่าวว่าตนเองต้องการรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม และมีแค่เพียงร้อยละ 55 ที่ปัจจุบันกำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว

คุณเลนนาร์ด ย้ง (Mr. Lennard Yong) ประธานกรรมการบริหารของไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า“การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ของสัดส่วนที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคณะกรรมการบริษัทเกือบทุกองค์กรทั่วทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม” นับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น ไตรคอร์ก็ได้รับการสอบถามจากองค์กรต่าง ที่กำลังมองหาวิธีการในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของคณะกรรมการ โดยรวมรวมถึงการเอาวิธีการกำกับดูแลคณะกรรมการบริษัทแบบดิจิทัลมาใช้ ในขณะที่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความปั่นป่วนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยการให้บริการในรูปแบบบูรณาการและส่งเสริมความเป็นดิจิทัลรวมทั้งโซลูชั่นในการกำกับดูแลกิจการที่มีความหลากหลาย พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการในการสร้างความคุ้นเคยกับสภาวะทางธุรกิจที่กำลังวิวัฒนาการและพยายามรับมือกับความไม่แน่นอน”

คุณซันไชน์ ฟาซาน (Ms. Sunshine Farzan) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “คณะกรรมการบริษัทต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการลดความเสี่ยง และนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นหายนะและเหตุการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับองค์กรและยังส่งผลต่อการลงทุนของผู้ถือหุ้น หากมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ได้ยืนยันแล้วว่า คณะกรรมการต่างก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับ วิกฤติของความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ GRC และ BCP และรายงานฉบับนี้จะสามารถช่วยให้คณะกรรมการมองเห็นถึงความท้าทาย ปัญหา รวมถึงด้านสำคัญที่ต้องการการแก้ไขพัฒนา เพื่อนำไปสู่ขั้นต่อไปในการดำเนินธุรกิจอย่างและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง

คุณดีแลนด์ หม่า (Mr. Dyland Mah) กรรมการผู้จัดการ บริษัทไตรคอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ธนาคารโลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในเอเชียในด้านของการกำกับดูแลกิจการซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิรูปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของมาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนดในระดับสูงในด้านที่สำคัญ อาทิเช่น การเปิดเผย ความโปร่งใส และการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หากแต่ในส่วนของการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสภาวการณ์ของตลาดที่เปี่ยมไปด้วยความท้าทายแล้ว ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยก็กำลังรับมือกับสภาวะของความไม่แน่นอนที่แพร่กระจายไปทั่ว รวมทั้งความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ตลอดจนข้อบังคับ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับไตรคอร์

ประเทศไทยแล้ว เราต่างก็ให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อที่จะสนับสนุนกรอบการทำงานในเรื่องของการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถที่จะส่งเสริมพนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้มีอำนาจในการควบคุม และชุมชนได้ดีขึ้น”

นอกเหนือจากประเด็นหลักที่กล่าวมาข้างต้น รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ยังมีรายละเอียดสำหรับประเด็นรอง บทสรุปสำคัญ บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม ประเด็นที่ควรพิจารณา และ วิธีการปฏิบัติด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คณะกรรมการ เข้าใจและชี้ทางเพื่อให้พัฒนาธุรกิจต่อไปท่ามกลางวิกฤติ

หากสนใจรับชมรายงานฉบับเต็ม สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.tricorglobal.com/2021-asia-pacific-board-director-barometer-report

ขอบคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

HONG KONG SAR (GROUP OFFICE)

Sunshine Farzan

Tricor Services Limited

Group Head of Marketing & Communications

Tel: +852 2980 1261

Email: Sunshine.Farzan@hk.tricorglobal.com

เกี่ยวกับ บริษัท ไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2005 และมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งบริการของเราครอบคลุมทั้งบริการจัดทำบัญชีและภาษีอากรให้กับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, บริการด้านเลขานุการและการจัดการทั่วไปสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริการด้านการจัดทำเงินเดือน  หากท่านต้องการที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พนักงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างพื้นฐานชั้นแนวหน้า ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ

ไตรคอร์กรุ๊ป (“ไตรคอร์”) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขยายธุรกิจระดับชั้นนำของเอเชีย ซึ่งมีองค์ความรู้ระดับโลก และมีสำนักงานซึ่งให้บริการทางธุรกิจ บริการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริการให้คำแนะนำแก่นักลงทุน บริการทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน บริการทรัสต์สำหรับองค์กร (Corporate trust & debt services) การจัดการด้านธุรการกองทุน และบริการให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ   ไตรคอร์มีสำนักงานใหญ่ประจำที่ฮ่องกง เราให้บริการมากกว่า 21 ประเทศ/เขตการปกครอง มีเครือข่ายสำนักงานใน 47 เมือง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในความดูแลมากกว่า 50,000 รายทั่วโลก  โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าว กว่า 2,000 บริษัทเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย และมากกว่า 40 % เป็นบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทชั้นนำ 500 แห่งทั่วโลกจากการรวบรวมและจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune  นอกจากนี้ไตรคอร์มีพนักงานกว่า 2,800 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีใบรับรองทางวิชาชีพถึง 630 คน โดยเราพร้อมให้บริการที่สำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการเติบโตทั้งในระดับเอเชียและระดับต่อไป

จุดแข็งของไตรคอร์ประกอบขึ้นจากประสบการณ์เชิงลึกในทุกๆ อุตสาหกรรม พนักงานที่มุ่งมั่น การดำเนินการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปฏิบัติการตามมาตรฐาน การให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบ และการติดต่อสื่อสารกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ไตรคอร์มีความสามารถเฉพาะเพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจของท่าน และช่วยให้ท่านก้าวไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายในปัจจุบัน

 โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา: www.tricorglobal.com/locations/thailand

The Open Group OSDU™ Forum ประกาศเปิดตัว OSDU Data Platform Mercury Release

Logo

~ แพลตฟอร์มข้อมูลมาตรฐานที่ใช้กระตุ้นนวัตกรรม ส่งเสริมการจัดการข้อมูล และลดเวลาการวางตลาดสำหรับโซลูชันใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมพลังงาน ~

ซานฟรานซิสโก–(BUSINESS WIRE)–24 มีนาคม 2564

The Open Group ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรเทคโนโลยีที่เป็นกลางสำหรับผู้ขาย วันนี้ประกาศเปิดตัว OSDU Data Platform Mercury Release โดย The Open Group OSDU™ Forum เป็นผู้พัฒนา OSDU Data Platform ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเปิด และแพลตฟอร์มข้อมูลที่อิงตามมาตรฐานและเทคโนโลยีล้วน ๆ สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน เพื่อช่วยกระตุ้นนวัตกรรมการจัดการข้อมูลเชิงอุตสาหกรรมและลดเวลาในการวางตลาดสำหรับโซลูชันใหม่ ๆ

OSDU Data Platform จะให้เวลาเพิ่มเติมในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยผู้ขาย ซึ่งเปิดให้เข้าถึงและได้รับการยอมรับจากแหล่งข้อมูลด้านพลังงานมากมาย จากการเข้าถึงระบบนิเวศนี้ ผู้พัฒนาจะไม่ต้องพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างขนาดมหึมาเพื่อใช้ส่งมอบบริการเสริมอีกต่อไป ด้วย API ชุดเดียวที่กำหนดไว้เฉพาะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ สามารถเร่งการออกแบบแพลตฟอร์มและพัฒนาแอปพลิเคชันที่เป็นกรรมสิทธิ์บน OSDU Data Platform ได้อย่างง่ายดาย

ด้วยวิธีการของ Open Source บริษัททุกแห่งตั้งแต่องค์กรที่ก่อตั้งมานานไปจนถึงบริษัทสตาร์ทอัพ สามารถมีส่วนร่วมพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ มายังแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนขั้นตอนการทำธุรกิจที่หลากหลาย งานทุกชิ้นจะถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการจัดการโปรแกรม OSDU หรือ OSDU Program Management Committee (PMC) เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่างานนั้นจะล้อไปกับทิศทางโดยรวมของประชาคม

ด้วยมุมมองเดียวของข้อมูลเชิงอุตสาหกรรม OSDU Data Platform สามารถนำไปใช้งานเพื่อนวัตกรรมแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ปัจจุบัน OSDU Data Platform Mercury Release พร้อมให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงานและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้

  • ปลดปล่อยข้อมูลจากไซโลแบบเดิมและทำให้ข้อมูลทั้งหมดสามารถค้นพบและใช้งานได้ในแพลตฟอร์มข้อมูลเดียว
  • เปิดใช้งานขั้นตอนพัฒนาและค้นหาแบบบูรณาการใหม่ ๆ ที่ช่วยลดเวลาในการทำงานโดยรวม
  • ใช้ประโยชน์จากโซลูชันดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและช่วยเร่งการตัดสินใจ

Steve Nunnประธานและซีอีโอแห่ง The Open Group ให้ความเห็นว่า “The OSDU Data Platform Mercury Release คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พัฒนาโดย OSDU Forum ในระยะเวลาอันสั้น OSDU Forum ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 มีสมาชิกองค์กรเพิ่มขึ้น 185 แห่ง โดยมาร่วมมือกันเพื่อกระตุ้นนวัตกรรมและลดค่าใช้จ่ายภาคพลังงาน ด้วยแพลตฟอร์มข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน บริษัทด้านพลังงานต่าง ๆ จะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ระบบมาตรฐานเปิดเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น ในอนาคต สิ่งนี้มีความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นของโลก พร้อมยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย”

Johan Krebbers ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายเทคโนโลยีเกิดใหม่ และ รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท Shell กล่าวว่า “หัวใจสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์ของบริษัทด้านพลังงานส่วนใหญ่คือการใช้เทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและพาเราก้าวไปข้างหน้าในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน สิ่งนี้ทำให้ความจำเป็นในการออกแบบโครงสร้างทั่วไปมีความชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนว่าอุตสาหกรรมของเราทำงานร่วมกับข้อมูลได้อย่างไร”

ด้าน David Eyton รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายนวัตกรรมและวิศวกรรม บริษัท bp กล่าวว่า “ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง bp ไปเป็นบริษัทพลังงานครบวงจร เราเชื่อว่าอนาคตของอุตสาหกรรมพลังงานจะขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการข้อมูลในรูปแบบการแบ่งปันข้อมูลกับพันธมิตร ส่งเสริมนวัตกรรมผ่านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นการตัดสินใจอย่างรวดเร็วตลอดวงจรชีวิตห่วงโซ่พลังงาน จากการเป็นสมาชิกก่อตั้งของ OSDU Forum นั้น bp ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่เปลี่ยนรากฐานภูมิทัศน์ของข้อมูลแก่อุตสาหกรรมของเรา และจากการรวมองค์กรด้านพลังงาน ผู้ให้บริการคลาวด์ และผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน OSDU Forum จึงมอบโอกาสสำหรับความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็น Mercury Release ของ OSDU Data Platform และหวังว่าจะขยายวิธีการนี้ไปยังงานด้านวิศวกรรม การปล่อยก๊าซ และพลังงานใหม่ ๆ ในอนาคต”

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันของ OSDU Data Platform เข้าไปที่หน้าชุมชนนักพัฒนาแอปพลิเคชันได้ที่นี่

ดูรายชื่อสมาชิกปัจจุบันของ OSDU Forum ได้ที่นี่

-สิ้นสุดเนื้อหา-

เกี่ยวกับ The Open Group OSDU Forum

The Open Group OSDUTM Forum ช่วยให้อุตสาหกรรมพลังงานพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานของโลกที่เปลี่ยนไป The OSDU Forum เปิดรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน รวมถึงผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเทคโนโลยี บริษัทซอฟท์แวร์ มหาวิทยาลัย และอื่น ๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ The OSDU Forum ดูได้ที่นี่

เกี่ยวกับ The Open Group

The Open Group ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรระดับโลกที่ช่วยกันผลักดันความสำเร็จของธุรกิจผ่านมาตรฐานของเทคโนโลยี ด้วยสมาชิกองค์กรที่มากถึง 800 แห่ง อันประกอบด้วยลูกค้า ซัพพลายเออร์โซลูชันและระบบ ผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือ ผู้รวบรวม สถาบันการศึกษา และที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้ที่ www.opengroup.org

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20210324005005/en/

ข้อมูลติดต่อสื่อ:
Jenny Morris
Hotwire
+44 (0)7393465529
UKOpengroup@hotwirepr.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) เผยแพร่ รายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ในประเด็นผลกระทบจากข้อตกลง RCEP ต่อประเทศไทย และการฟื้นตัวจาก COVID-19

Logo

ประเทศไทย–(BUSINESS WIRE)–1 กุมภาพันธ์ 2021

ตามรายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (the Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement: RCEP) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น ๆ จำนวน 14 ประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2020 และคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินการตามข้อตกลงในปี 2021 มีความซับซ้อน และได้วางกรอบสำคัญสำหรับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการค้าของประเทศในเอเชียซึ่งสูงกว่าและกว้างกว่าข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้โดยองค์การการค้าโลก (the World Trade Organization: WTO)

รายงานที่เผยแพร่ในวันนี้ต่อสื่อต่างๆ และผู้นำทางธุรกิจ โดยอาศัยข้อมูลอุตสาหกรรมจากศูนย์วิจัยและสื่อที่หลากหลายเพื่อเสนอมุมมองข้อมูลเชิงลึก ข้อสังเกต และการคาดการณ์ที่รวบรวมโดยผู้บริหารระดับสูงของไตรคอร์เกี่ยวกับแนวโน้มการค้าโลกที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการลงทุนของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก หรือ APAC ในปีหน้า

รายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกของไตรคอร์กรุ๊ปปี 2021 ได้มุ่งเน้นไปที่วิธีการดำเนินการตามหลักสำคัญของ RCEP ในปี 2021 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเปิดกว้างของตลาดการค้าและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19  ภายในรายงานดังกล่าวไตรคอร์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดของ RCEP และนำเสนอสรุปขั้นตอนสำคัญที่บริษัทต่างๆ สามารถดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมและใช้ข้อตกลงดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และสร้างศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ  นอกจากนี้รายงานฉบับนี้มีคําแนะนําในการทําธุรกิจในประเทศไทยและตลาดสำคัญอื่นๆ ใน RCEP อันได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเวียดนาม (ซึ่งไตรคอร์มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศเหล่านี้เช่นกัน)

ภายใต้ข้อตกลง RCEP ผู้ประกอบธุรกิจและนักลงทุนในประเทศไทยคาดหวังโอกาสทางการค้าที่จะเพิ่มขึ้นทั่วอาเซียนและภูมิภาค APAC เนื่องจากสินค้าจำนวนมากมีสิทธิได้รับการลดภาษีระหว่างประเทศมากขึ้น ความโปร่งใสด้านกฎระเบียบ การยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพิธีการทางศุลกากร

คุณดีแลนด์ หม่า (Mr. Dyland Mah) กรรมการผู้จัดการ บริษัทไตรคอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “RCEP ได้รวมประเทศต่างๆ ที่มีทัศนคติและมุมมองที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน  การร่วมมือในระดับพหุภาคีและการเข้าสู่ตลาดในระดับที่ใหญ่ขึ้น ประเทศต่างๆ ใน RCEP สามารถสร้างความยืดหยุ่นและความร่วมมือกันในภูมิภาคได้มากขึ้น  แต่เนื่องจากขนาดและความหลากหลายของ RCEP การปฎิบัติตามข้อตกลงอาจส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนสำหรับบางธุรกิจ ดังนั้นในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายธุรกิจของประเทศไทย เรา (ไตรคอร์) หวังว่าจะได้มีโอการร่วมงานกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น และก้าวนำอยู่เหนือธุรกิจอื่น ”

คุณเลนนาร์ด ย้ง (Mr. Lennard Yong) ประธานกรรมการบริหารของไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการก่อตั้งของกลุ่มการค้า RCEP เป็นการพัฒนาการค้าในระดับโลกที่สำคัญซึ่งอาจเปลี่ยนเส้นทางหรือแนวทางการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment (FDI)) ในระยะเวลาข้างหน้านี้  สำหรับไตรคอร์ เราคำนึงและตระหนักว่าข้อตกลงการค้านี้ อาจเปลี่ยนแปลงแนวทางการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ในธุรกิจระหว่างประเทศ สำหรับรายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ปนี้ ได้ให้แนวทางสำคัญกับองค์กรชั้นนำระดับโลกและระดับประเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างประโยชน์จากโอกาสที่จะเกิดขึ้นจาก RCEP   ความเชี่ยวชาญนี้ได้ชี้ชัดถึงความเป็นผู้นำของเราในภูมิภาคนี้ในฐานะพันธมิตรขององค์กรที่ต้องการขยายธุรกิจไปทั่วเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ”

คุณแกรี่ ต็อก (Mr. Gary Tok) ประธานกรรมการด้านพาณิชย์ธุรกิจ ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “การลงนามในข้อตกลง RCEP เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากสำหรับธุรกิจและนักลงทุนในเอเชียแปซิฟิกและรวมไปถึงระดับที่กว้างไกลกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องฝ่าฟันความตึงเครียดจากการระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานของโลก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไตรคอร์ได้มีส่วนช่วยเหลือหลายธุรกิจซึ่งต้องเผชิญกับคลื่นของภัยร้ายจากโรคระบาดที่ไม่อาจคาดคิด ตลอดจนได้มีเตรียมการสำหรับสิ่งซึ่งไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต  และสำหรับข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญนี้ เรารอที่จะได้ร่วมงานกับธุรกิต่างๆ ทั่วโลก ในการช่วยทบทวนและปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อทำให้ธุรกิจเหล่านั้นได้รับประโยชน์จากเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและความร่วมมือระดับพหุภาคีที่จะได้รับจาก RCEP”

คุณซันไชน์ ฟาซาน (Ms. Sunshine Farzan) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “ในปี 2020 ข่าวสำคัญทั่วโลกเรื่องหนึ่งก็คือ การระบาดของ COVID-19  ซึ่งเรามีความกังวลใจว่าปัญหาการระบาดจะทำให้เกิดการหยุดชะงักของเศรษฐกิจทั่วโลก  ในรายงานการค้าในระดับเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ป ซึ่งรวบรวมจากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีอุปสรรคและความไม่แน่นอนในอนาคตอยู่มาก ก็ยังคงมีโอกาสใหม่ ๆ ที่ยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วโลกในปี 2021 อาทิเช่น ประโยชน์มหาศาลที่จะได้รับจากข้อตกลง RCEP   ด้วยการรวมมุมมองและข้อคิดเห็นในการก้าวไปในอนาคต รายงานนี้จะช่วยธุรกิจและผู้ลงทุนให้ก้าวนำและอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ ”

ขอบคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

HONG KONG SAR (GROUP OFFICE)

Sunshine Farzan

Tricor Services Limited

Group Head of Marketing & Communications

Tel: +852 2980 1261

Email: Sunshine.Farzan@hk.tricorglobal.com

เกี่ยวกับ บริษัท ไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2005 และมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งบริการของเราครอบคลุมทั้งบริการจัดทำบัญชีและภาษีอากรให้กับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, บริการด้านเลขานุการและการจัดการทั่วไปสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริการด้านการจัดทำเงินเดือน  หากท่านต้องการที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พนักงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างพื้นฐานชั้นแนวหน้า ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ

ไตรคอร์กรุ๊ป (“ไตรคอร์”) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขยายธุรกิจระดับชั้นนำของเอเชีย ซึ่งมีองค์ความรู้ระดับโลก และมีสำนักงานซึ่งให้บริการทางธุรกิจ บริการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริการให้คำแนะนำแก่นักลงทุน บริการทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน บริการทรัสต์สำหรับองค์กร (Corporate trust & debt services) และบริการให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ   ไตรคอร์มีสำนักงานใหญ่ประจำที่ฮ่องกง เราให้บริการมากกว่า 21 ประเทศ/เขตการปกครอง มีเครือข่ายสำนักงานใน 47 เมือง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในความดูแลมากกว่า 50,000 รายทั่วโลก  โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าว กว่า 2,000 บริษัทเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย และมากกว่า 40 % เป็นบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทชั้นนำ 500 แห่งทั่วโลกจากการรวบรวมและจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune  นอกจากนี้ไตรคอร์มีพนักงานกว่า 2,700 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีใบรับรองทางวิชาชีพถึง 630 คน โดยเราพร้อมให้บริการที่สำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการเติบโตทั้งในระดับเอเชียและระดับต่อไป

จุดแข็งของไตรคอร์ประกอบขึ้นจากประสบการณ์เชิงลึกในทุกๆ อุตสาหกรรม พนักงานที่มุ่งมั่น การดำเนินการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปฏิบัติการตามมาตรฐาน การให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบ และการติดต่อสื่อสารกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ไตรคอร์มีความสามารถเฉพาะเพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจของท่าน และช่วยให้ท่านก้าวไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายในปัจจุบัน

 โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา: www.tricorglobal.com/locations/thailand

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย